วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่ 7

            ขอขอบคุณ ดร.จิต นวลแก้ว , ดร.อภิชาต วัชรพันธ์ และคณะครูอาจารย์ที่ให้ความรู้กับพวกเราห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต ในระยะเวลา 5 วัน ในช่วงปิดเรียนเนื่องจากการแข่งวิชาการของภาคใต้


           ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของสมุนไพร และยังสามารถนำสมุนไพร มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน สามารถนำไปรักษาโรคต่าง ๆได้ เป็นต้น


          การนำสมุนไพรมาใช้ทำประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือการทำถุงหอม และลูกประคบสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ทำให้บรรยากาศสดชื่น และรักษาโรคต่าง ๆได้


และกลุ่มของพวกเรา ได้คิดริเริ่ม บทเพลงที่แต่งเองกันภายในกลุ่ม ด้วยกัน 2 เพลง ที่เกี่ยวกับสมุนไพร
                    เพลงที่ 1 คือเพลง ประโยชน์ของสมุนไพร
สมุนไพรนั้นมีประโยชน์   ทั้งมีโทษและประโยชน์มากมาย
ได้กลิ่นแล้วรู้สึกสบาย ( ได้กลิ่นแล้วรู้สึกสบาย)
รู้สึกผ่อนคลาย เพราะกลิ่นสมุนไพร


                    เพลงที่ 2 คือ  ลูกประคบสมุนไพร
ลูกประคบสมุนไพร  มีไว้ใชเมื่อตอนเมื่อย 
ทำได้ง่ายไม่ต้องเหนื่อย เมื่อเราเมื่อยก็ประคบ


           สุดท้ายนี้ก็ไม่มีอะไรมากแล้ว ก็ขอขอบพระคุณ ดร.จิต นวลแก้ว,ดร.อภิชาต วัชรพันธ์ และคณะครูที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างสูง ที่สละเวลาเพื่อมาสอนและให้ความรู้กับพวกเราห้องพิเศษวิทย์-คณิต นับหลังจากนี้พวกเราจะนำประโยชน์และความรู้ที่ท่านได้สอนไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำไปใช้ในการเรียน ก็คงหวังว่าพวกท่านก็จะให้กำลังใจพวกเราต่อไปในอนาคต และพวกเราคงได้พบกันอีก


ขอบคุณค่ะ,ขอบคุณคับ

อนุทินที่ 6

ประโยชน์ที่ได้รับ
       1. สมุนไพร คือ เป็นยาที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่ยังไม่ได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ สามารถนำมาสกัดสารที่มีปรัโยชน์ต่อมนุษย์ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ สมุนไพรจากพืช สมุนไพรจากสัตว์ และสมุนไพรจากแร่ธาตุ มีหลักการทั้วไปในการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพรดังนี้
        1.)ประเภทราก หรือหัว ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบดอกร่วงหมด หรือในชวงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเห็นว่าในช่วงนี้รากและหัวมีการสะสมปริมาณของตัวยา ไว้ค่อนข้างสูง วิธีการเก็บรักษาใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง
         2.)ประเภทใบ หรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือบางชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บอย่างชัดเจน
         3.)ประเภทเปลือกต้น และเปลือกราก เปลือกต้นโดยมากเก็บระหวางช่วงฤดูร้อนต่อกับฤดูฝนปริมาณยาในพืชสูง และลอกออกง่าย สำหรับการลอกเปนเปลือกต้นนั้น อย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้น เพราะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืช อาจทำให้พืชตายได้
         4.)ประเภทดอก โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม 
         5.)ประเภทผล และเมล็ด พืชสมุนไพรบางอย่างอาจเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก เก็นผลอ่อนใช้แก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บในตอนผลแก่เต็มที่แล้ว 


       2.ถุงหอมสมุนไพร คือภาชนะที่ประดิษฐ์าจากการดาษสา กระดาษเยื่อไผ่ กล่องกระดาษ สามารถบรรจุสมุนไพรหลากหลายชนิด เพื่อขจัดกลิ่นเหม็น และป้องกันแมลง ซึ่งคนโบราณรู้จักใช้กลิ่นหอมต่างๆ มาบำบัดรักษา แถมยังทำให้สุขภาพดีขึ้น


       3.ลูกประคบสมุนไพร (Herbal Compress) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาด แล้วนำมาหั่น หรือสับ ให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการทำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อ หรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่างๆ สำหรับใช้นาบ หรือกด ประคบส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผอนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำ แล้วทำให้ร้อนโดยนึ่ง ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร คือ ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่างๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสด หรือแห้งหลายชนิดรวมกัน

อนุทินที 5

ลูกประคบสมุนไพร ( Herbal Compress )
            ลูกประคบสมุนไพร ( Herbal Compress ) เป็นผลิตภัณฑ์
ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาด แล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้น ๆตามขนาดที่ต้องการตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม หมอนสำหรับใช่นาบ หรือกดประคบส่วนต่าง ๆของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำ แล้วทำห้ร้อนโดยนึ่ง ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผาปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆภายใบรรจุสมุนไพรสด หรือแหงหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแลวมัดให้แน่น ทำเป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอม ของน้ำมันหอม ระเหยของสมุนไพรทีใช้ โดยมีองค์ประกอบของสมุนไพรที่สำคัญ ดังนี้ ( สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ไทยและการแพทย์ทางเลือก 2546 )  
           1.) ไพล ( 500 กรัม ) แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก ลดการอักเสบ
           2.) ขมิ้นชัน ( 100 กรัม ) ช่วยลดการอับเสบ แก้โรคผิวหนัง
           3.) ตะไคร้บ้าน ( 100 กรัม ) แต่งกลิน 
           4.) ผิวมะกรูด ( 200 กรัม ) ถ้าไม่มีใชใบแทนได้ มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
           5.) ใบมะขาม ( 300 กรัม ) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
           6.) ใบส้มป่อย ( 100 กรัม ) ใช่บำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
           7.) เกลือ ( 1 ช้อนโต๊ะ ) ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
           8.) การบรู ( 2 ช้อนโต๊ะ ) แต่งกลิ่น บำรงหัวใจ
     อุปกรณ์การทำลูกประคบสมุนไพรที่สำคัญ มีดังนี้
           1.) ผ้าสำหรับห่อลูกประคบ ต้องเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบที่มีเนื้อผ้าแน่นพอ ที่จะป้องกันไม่ให้สมุนไพรรวออกมาได้ 
           2.) สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบต้องหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ สด / แห้ง ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นเด่นชัด และต้องมีพืชสมุนไพรหลักทีมีน้ำมันหอมระเหย อย่างนอย 3 ชนิด กลุ่มสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวกรดอ่อน ๆ และกลุ่มสารที่มีกลิ่มหอมจะระเหยดูดความร้อน 
           3.) หม้อสำรับนึ่งลูกประคบและจานรองลูกประคบ 
           4.) เชือกสำหรับมัดลูกประคบ
     วิธีทำลูกประคบสมุนไพร
           1.) นำหัวไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด ล้างทำความสะอาด นำมาหั่นหรือสับ
ให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ ตำพอหยาบ ๆ
           2.) นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรในข้อ 1 เสร็จแล้วใส่เกลือ การบรู คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
           3.) แบ่งสมุนไพรที่คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเป็นส่วนเท่า ๆกัน โดยใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบ ห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่น
           4.) นำลูกประคบที่ไปนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
       ประโยชน์ของการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรที่สำคัญ ดังนี้ 
           1.) กระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
           2.)ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการที่ปวดเมื่อย
           3.) ลดการติดขัดข้องข้อต่อบริเวณที่ประคบ และทำให้เนื้อเยื้อพังผืด ยืดตัวออกมา
           4.) ลดอาการบวมที่เกิดการจากอักเสบกล้ามเนื้อหรือบริเวณต่าง ๆ หลังจาก 24-28 ชั่วโมงไปแล้ว

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่ 4

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่สังคม
        ถุงหอมสมุนไพรไทย คือ ภาชนะที่ประดิษฐ์มาจากกระดาษสา กระดาษเยื่อไผ่ กล่องกระดาษ บรรจุสมุนไพรหลากหลายชนิด ได้แก่ พิมเสน การบรู ดอกพิกุลแห้ง การพลู ผิวมะกรูด ขมิ้นผง เพื่อนขจัดกลิ่นเหม็น และป้องกันแมลง การทำถุงหอมถอเป็นการประยุกต์นำเอาสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ โดยใช่กลิ่นจากสมุนไพร ซึ่งคนโบราณรู้จักใช้กลิ่มหอมต่าง ๆมาบำบัดรักษาแถมยังทำให้สุขภาพดีขึ้น โดยมีปนะโยน์คือ ใช้ดับกลิ่นให้กลิ่นหอม ประหยักค่าใช้จ่าย และประดับตกแต่งภายในบ้าน เป็นต้น
แนะนำวิธีการทำถุงหอมสนุมไพรไทย
1.) ตัดกระดาษสาให้เป็นถุงเล็กขนาดประมาณ 8 ซม. x 12 ซม.
2.) เย็บถุงให้เรียนร้อย
3.) ตรวจสอบถุงว่าบางไปหรือไม่
4.) นำสมนไพรใส่ในถุง 
5.) เมื่อใส่ครบแล้วเย็บปากถุงให้เรียบร้อย
6.) ตรวจสอบสภาพถุงก่อนนำไปใช้
7.) นำไปใช้ได้ตามอัธยาศัย

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อนุทินที่ 3

        เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับบล็อกนี้พวกเราได้รับความรู้จาการสร้างสรรค์บล็อกให้มีความน่าสนใจ และเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่างๆที่เราอยากเผยแพร่ใหผู้อื่น

อนุทิน 2 walk rally สมุนไพร

        ในการเรียนวอคเรลลี่ ทำให้เราได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม และได้รู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรหลายชนิด ที่มีอยู่ตามท้องถิ่นของเรา เช่น ว่านหางจระเข้ ที่นิยมปลูกกันตามบ้าน สามารถนำมารักษาแผลสด แผลโดนนำร้อนลวกได้ มะกรูด หาได้ตามบ้านเรือน มีสรรพคุณนำมาหมักผมเพื่อไล่เหา และยังทำให้ผมสวย และหอม นอกจากนี้ยังนำมาประกอบอาหาร และเมื่อทำให้แห้งสามารถนำมาทำถุงหอมสมุนไพรได้
สมุนไพรไพรแต่ละชนิดมีทั้งโทษและประโยชน์ภายในตัวของมันเอง











































อนุทิน 1

แนะนำกลุมที่ 11 กาลเวลา
เด็กชายอติชาต         แก้วใจจง
เด็กหญิงนฤมล          ตุ่มทอง
เด็กหญิงนลินทิพย์     อ๋องแสง
เด็กหญิงปิยาภรณ์     ศรีวิมล
เด็กหญิงภัทรวรรณ   เลี่ยมชาติ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
โรงเรียนทุ่งสง
อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช